โลกดิจิทัลมันเร้า ถ้าอยากมีชีวิตรอด เรายิ่งต้องรู้จัก "Digital Well-being" | Sammakorn
ค้นหาโครงการที่เหมาะกับคุณ
ทำเลที่ตั้ง
เลือกทำเลที่ตั้ง
เลือกแล้ว0
ค้นหาจากทำเลที่ตั้ง
ประเภทโครงการ
เลือกประเภทโครงการ
เลือกแล้ว0
เลือกประเภทโครงการ
ช่วงราคา
เลือกช่วงราคา
เลือกแล้ว0
เลือกช่วงราคา

โลกดิจิทัลมันเร้า ถ้าอยากมีชีวิตรอด เรายิ่งต้องรู้จัก "Digital Well-being" | Sammakorn

Mental Health
โลกดิจิทัลมันเร้า ถ้าอยากมีชีวิตรอด เรายิ่งต้องรู้จัก "Digital Well-being"
28 กันยายน 2566
sammakorn | โลกดิจิทัลมันเร้า ถ้าอยากมีชีวิตรอด เรายิ่งต้องรู้จัก "Digital Well-being"

หลายคนคงรู้จักกับคำว่า Well-Being หรือ การมีสุขภาวะที่ดีกันอยู่แล้ว เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ และยังเป็นเทรนด์ที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงในองค์กรเล็กใหญ่มากมาย เพื่อให้ทุกคนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติของตนเอง เพื่อสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน ซึ่ง Well-Being ถูกปรับใช้ไปในหลาย ๆ บริบท ไม่ว่าจะ สุขภาพกาย สุขภาพใจ สังคม หน้าที่การงาน การเงิน ความสัมพันธ์ รวมไปถึงสภาพแวดล้อม สอดแทรกหลัก Well-Being เข้าไปเพื่อให้ทุกคนสามารถมีชีวิตที่มีความสุขได้ในทุก ๆ มิติ

 

 

เมื่อก่อนเราอาจคุ้นชินกับการถามสารทุกข์สุขดิบว่า “ใช้ชีวิตดีหรือเปล่า ดูแลสุขภาพดีไหม?” แต่ทุกวันนี้เมื่อเราอยู่ในโลกดิจิตัลอย่างเต็มตัว คำถามเหล่านี้จึงกำลังแปรสภาพไป แล้วเกิดคำถามใหม่ว่า #คุณยังใช้ชีวิตในโลกดิจิตัลได้ดีหรือเปล่า? ประโยคนี้อาจฟังดูแปลก ๆ และฝืนความรู้สึกของคนที่ถูกถาม แต่นี่คือคำถามที่นักวิชาการตลอดจนคนในต่างประเทศเริ่มถามไถ่กัน เพราะชีวิตโลกดิจิตัลมันได้กระทบความเป็นอยู่ของเราเข้าเสียแล้ว จากที่เคยมอบความสะดวกสบาย สร้างประโยชน์มากมาย แต่วันนี้มันสร้างผลเสียต่อสุขภาพ และบั่นทอนคุณภาพชีวิตของเราทุกคน ไม่เว้นแม้แต่มนุษย์ Low Tech


จากการวิจัยและเก็บสถิติพบว่า ปัจจุบันมนุษย์เรานั้นต้องเผชิญวิกฤตสุขภาพตกต่ำเพราะชีวิตเราอยู่กับโลกออนไลน์มากเกินจำเป็น หรือพูดง่าย ๆ ว่าเราไม่สามารถตัดโลกออนไลน์ออกจากการใช้ชีวิตได้เลย ตั้งแต่ตื่นลืมตาก็คว้ามือถือเพื่อเปิดเช็คข้อความ ทำงานก็อยู่กับหน้าจอ คุยกับคนในครอบครัวผ่านไลน์ ไม่เว้นแม้แต่เวลากินข้าว หรือนั่งพักก็ยังไถโซเชียลเพื่อดูความเป็นไปของสังคม แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนแฝงภัยมาให้เราโดยไม่รู้ตัว ไหนจะปัญหาสุขภาพตา การนั่งหน้าจอนาน ๆ ทำให้กระดูข้อต่อต่าง ๆ เสื่อม เกิดความเครียดสะสม อารมณ์แปรปรวน และอื่น ๆ อีกมากมาย จึงเป็นเหตุว่าหากเราจะอยู่ในโลกดิจิตัลต่อไป ก็ต้องคำนึงถึงสุขภาพที่ดีคู่ขนานไปพร้อม ๆ กัน

 

 

แล้วจะทำอย่างไร เมื่อเรายังต้องใช้ชีวิตในโลกดิจิตัลต่อไป?
แน่นอนว่ากบฏนักวิชาการไม่รอช้า เขาจึงคิดค้นทฤษฎีการเคลื่อนไหวใหม่ขึ้นมา ที่เรียกว่า “Digital Well-Being” ว่ากันง่าย ๆ คือ การมีสุขภาพดีในโลกดิจิทัลนั่นเอง คือการใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติและเป็นประโยชน์ เพื่อลดผลเสียต่อมนุษย์ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ทุกคนยังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขทั้ง กาย ใจ ความคิด ความสัมพันธ์

รู้หรือไม่ว่าหนึ่งวันมี 24 ชั่วโมง แต่เราใช้เวลาเฉลี่ยอยู่หน้าจอไปแล้ว 11 ชั่วโมง นี่คือค่าเฉลี่ยของคนไทยในการท่องอินเตอร์เน็ตในแต่ละวัน และแนวโน้มนี้มีทีท่าว่าจะสูงขึ้นไปอีก แล้วเราจะเหลือเวลาใช้ชีวิตแบบ offline กันกี่ชั่วโมงหละทีนี้ นี่เป็นเหตุผลว่า ถ้าเราจะต้องใช้เวลามากกว่าครึ่งอยู่กับโลกดิจิตัล การสร้าง Digital Well-Being จึงต้องเข้ามาในชีวิตของทุกคน เพื่อรักษาสมดุลในทุกๆ ด้านของชีวิต

 

 

มาดู 5 กฎ ที่จะช่วยสร้าง Digital Well-Being ให้เกิดกับคุณ
#กฎแรก_ตัดขาดทุกหน้าจอในเวลาพัก
เวลาพักของคุณคือนั่งเล่นโทรศัพท์ใช่หรือไม่ ถ้าใช่คุณเข้าข่ายติดจอเสียแล้ว นั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานานๆ แล้วยังเอาเวลาพักไปเล่นโทรศัพท์ อันนี้ไม่ดีแน่ๆ ลองตั้งกฎให้กับตัวเอง พักคือพัก หยุดหยิบมือถือไว้กับตัวตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย หรือทานข้าว เพื่อให้คุณได้โฟกัสกับกิจกรรมพักผ่อนอย่างเต็มที่ ลองเลือก 3 กิจกรรมพักผ่อนของคุณขึ้นมา แล้วขีดเส้นตายเลยว่า กิจกรรมเหล่านี้เราต้องห่างหน้าจออย่างเด็ดขาด ถ้าทำได้ เชื่อเถอะว่าคุณจะรู้สึกสดชื่น และสัมผัสถึงการพักผ่อนอย่างจริงๆ

#กฎสอง_ปิดการแจ้งเตือนที่ไม่จำเป็น
รู้หรือไม่ว่าเสียงแจ้งเตือน หรือ การสั่นเตือนจากแอพพลิเคชั่น หรือ โปรแกรมต่างๆ เป็นทริกเกอร์ที่ขัดขวางสมาธิของคุณ จนอาจเป็นสาเหตุให้คุณกลายเป็นคนสมาธิสั้นถาวรได้ เพราะคุณเริ่มตอบสนองกับเสียงเหล่านี้ เมื่อไหร่ที่การแจ้งเตือนดัง สมองของคุณจะสั่งให้คุณหยุดทำสิ่งหนึ่งเพื่อไปดูสิ่งที่เตือนขึ้นมา ทางที่ดี ลองปิดการแจ้งเตือนที่ไม่สำคัญออกไปให้หมด อย่างน้อยก็เป็นการคัดกรองเฉพาะสิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณ

#กฎสาม_อย่านอนกอดโทรศัพท์
การที่คุณเอาโทรศัพท์เข้านอนด้วย อันนี้เป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาด เพราะนอกจากคุณจะเผลอเล่นจนเลยเวลานอนของคุณ แสงสีฟ้ายังรบกวนการพักผ่อนของสมองอีกด้วย นี่ยังไม่นับรวมคลื่นที่เรามองไม่เห็นว่ามันรบกวนคลื่นสมองและกล้ามเนื้อของเราอีกนะ ลองวางโทรศัพท์ให้ห่างจากเตียงนอนให้ได้มากที่สุด เปิดโหมด Sleep ไว้เมื่อเข้านอน และหากคุณใช้โทรศัพท์ตั้งปลุก อยากให้ลองกลับมาใช้นาฬิกาปลุกแทน จะช่วยคุณหลับได้สนิทขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

#กฎสี่_พักสายตาจากโลกดิจิตัลทั้งหลายทุกชั่วโมง
ไม่ว่าคุณจะทำงาน เล่นโทรศัพท์ หรือไถจอช้อปปิ้งใดๆ ทุก 1 ชั่วโมง ขอให้พักจากโลกดิจิทัลอย่างน้อย 15 นาที เพื่อเป็นการพักสายตา และผ่อนคลายสมองจากการเสพเนื้อหามากมายบนโลกออนไลน์ การที่เรานั่งทำงาน หรืออ่านอะไรบนจอเยอะๆ หลายๆ หัวข้อในเวลาเดียวกัน เป็นการทำลายสมองอย่างไม่รู้ตัว เพราะสมองจะต้องประมวลผลหนักกว่าปกติหลายเท่า เดียวอ่านข่าวเครียดๆ ไปดูสิ่งบันเทิง คลิปตลก แค่นี้ก็ทำให้อารมณ์ของคุณสวิง สมองทำงานหนักจนล้า และมีผลต่ออารมณ์โดยเฉพาะภาวะไบโพล่าอีกด้วย

#กฎห้า_เรื่องสำคัญเก็บไว้คุยกันต่อหน้า
มากกว่า 40% ของคู่ที่หย่าร้าง พบว่ามีต้นเหตุมาจากการแชทผ่านข้อความ ถือเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อคุณพิมพ์คุยกันนานๆ เข้า พอต้องมาคุยกันต่อหน้ากลับเก็บอารมณ์และสีหน้าไม่ได้ ทำให้หลายคู่เกิดความไม่พอใจ ทะเลาะกัน หรือการตีความที่คลาดเคลื่อนของอีกฝ่ายในการอ่านข้อความ การจับผิดผ่านตัวอักษร เอาง่ายๆ ว่า การพิมพ์แชทกันบ่อยๆ มันบั่นทอนความสัมพันธ์ที่แท้จริงลงนั่นเอง หากจะสร้าง Digital Well-Being ลองเก็บเรื่องสำคัญมาคุยกันต่อหน้าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า เพื่อที่คุณจะได้มีเวลานั่งคุยกันอย่างเต็มที่ ไม่หลุดละเลยประเด็น หรืออย่างน้อยอีกฝ่ายจะได้รู้สึกใกล้ชิดกันมากกว่าการคุยผ่านข้อความ 

ลองนำ Digital Well-Being มาปรับใช้ให้เกิดกับคุณ เพื่อสุขภาพที่ดี และอารมณ์ที่มั่นคง ถ้าจะอยู่ในโลกดิจิตัลที่หมุนไวแบบนี้ เราต้องเปลี่ยนวิธีรับมือเพื่อแก้เกมไม่ให้คุณภาพชีวิตเราตกต่ำเพราะเทคโนโลยีเหล่านี้

สัมมากร
บ้านที่หลับสบาย ไร้กังวล
Have a good sleep
แอดไลน์สัมมากร เพื่อรับข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม
คลิก : https://bit.ly/3NB2Irs
#อยากให้รู้ว่าสัมมากรขายบ้าน #SAMMAKORN #บ้าน #สัมมากร #บ้านที่หลับสบาย #แนวทางการมีสุขภาวะที่ดี #ยุคดิจิทัล #สุขภาพดี #WellBeing

สมัครรับข่าวสาร
อีเมล*